องค์การบริหารส่วนตำบลเว่อ อำเภอยางตลาด จังหวัดกาฬสินธุ์: www.ver.go.th

 
 

 

 

อำนาจหน้าที่

อํานาจหน้าที่ขององค์การบริหารส่วนตําบล (อบต.)  อํานาจหน้าที่ ตามพระราชบัญญัติสภาตําบลและองค์การบริหารส่วนตําบล พ.ศ. 2537 และ ที่แก้ไขเพิ่มเติม ถึงฉบับที่ 5 พ.ศ. 2546  

1. มีอํานาจหน้าที่ในการพัฒนาตําบลทั้งในด้านเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม (มาตรา 66)  

2. ภายใต้บังคับแห่งกฎหมายองค์การบริหารส่วนตําบลมีหน้าที่ต้องทําในเขตองค์การบริหารส่วนตําบล ดังต่อไปนี้ (มาตรา 67)          

  1) จัดให้มีและบํารุงรักษาทางน้ําและทางบก          

  2) รักษาความสะอาดของถนน ทางน้ํา ทางเดิน และที่สาธารณะรวมทั้งกําจัดมูลฝอยและสิ่งปฏิกูล          

  3) ป้องกันโรคและระงับโรคติดต่อ          

  4) ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย          

  5) ส่งเสริมการศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม          

  6) ส่งเสริมการพัฒนาสตรี เด็ก เยาวชน ผู้สูงอายุ และผู้พิการ          

  7) คุ้มครองดูแลและบํารุงรักษาทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม          

  8) บํารุงรักษาศิลปะ จารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น และวัฒนธรรมอันดีของท้องถิ่น          

  9) ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่ทางราชการมอบหมายโดยจัดสรรงบประมาณหรือบุคลากร ให้ตามความ จําเป็นและสมควร 

3. ภายใต้บังคับแห่งกฎหมายองค์การบริหารส่วนตําบลอาจจัดทํากิจกรรมในเขตองค์การบริหารส่วนตําบล ดังต่อไปนี้ (มาตรา 68)          

  1) ใหม้ีน้ําเพื่อการอุปโภค บริโภค และการเกษตร          

  2) ใหม้ีการบํารุงการไฟฟ้าหรือแสงสว่างโดยวิธีอื่น          

  3) ใหม้ีการบํารุงรักษาทางระบายน้ํา          

  4) ใหม้ีและบํารุงสถานที่ประชุมการกีฬา การพักผ่อนหย่อนใจ และสวนสาธารณะ          

  5) ใหม้ีการส่งเสริมกลุ่มเกษตรกรและกิจการสหกรณ์          

  6) ส่งเสริมใหม้ีอุตสาหกรรมในครอบครัว          

  7) บํารุงและส่งเสริมการประกอบอาชีพของราษฎร          

  8) การคุ้มครองดูแล และรักษาทรัพย์สินอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน          

  9) หาผลประโยชน์จากทรัพย์สินขององค์การบริหารส่วนตําบล          

  10) ให้มีตลาด ท่าเทียบเรือ และท่าข้าม          

  11) กิจการเกี่ยวกับการพาณิชย์          

  12) การท่องเที่ยว          

  13) การผังเมือง  

4. การดําเนินงานตามอํานาจหน้าที่ของกระทรวง ทบวง กรม หรือองค์การหรือหน่วยงานของรัฐ ในอันที่จะ ดําเนินกิจการใด ๆ เพื่อประโยชน์ของประชาชนในตําบลต้องแจ้งให้ อบต. ทราบล่วงหน้าตามสมควร หาก อบต. มีความเห็นเกี่ยวกับการดําเนินกิจการดังกล่าว ให้นําความเห็นของ อบต. ไปประกอบการพิจารณา ดําเนินกิจการนั้นด้วย (มาตรา 69)  

5. การปฏิบัติงานตามอํานาจหน้าที่ของ อบต. ต้องเป็นไปเพื่อประโยชน์สุขของประชาชน โดยใช้วิธีการ บริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี และใหค้ํานึงถึงการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทําแผนพัฒนา อบต. การ จัดทํางบประมาณ การจัดซื้อจัดจ้าง การตรวจสอบ การประเมินผลการปฏิบัติงาน และการเปิดเผยข้อมูล
ข่าวสาร ทั้งนี้ให้เป็นไปตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับว่าด้วยการนั้น และหลักเกณฑ์และวิธีการที่ กระทรวงมหาดไทยกําหนด (มาตรา 69/1)  

6. มีสิทธิได้รับทราบข้อมูลและข่าวสารจากทางราชการในเรื่องที่เกี่ยวกับการดําเนินกิจการ ของทางราชการ ในตําบล เว้นแต่ข้อมูลหรือข่าวสารที่ทางราชการถือว่าเป็นความลับเกี่ยวกับ การรักษาความมั่นคงแห่งชาติ (มาตรา 70)  

7. ออกข้อบัญญัติ อบต. เพื่อใช้บังคับในตําบลได้เท่าที่ไม่ขัดต่อกฎหมายหรืออํานาจหน้าที่ของ อบต. ในการ นี้จะกําหนดค่าธรรมเนียมที่จะเรียกเก็บและกําหนดโทษปรับผู้ฝ่าฝืนด้วยก็ได้ แต่มิให้กําหนดโทษปรับเกิน 1,000 บาท เว้นแต่จะมีกฎหมายบัญญัติไว้เป็นอย่างอื่น (มาตรา 71)  

8. อาจขอใหข้้าราชการ พนักงาน หรือลูกจ้าง ของหน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือหน่วย การบริหารราชการส่วนท้องถิ่นไปดํารงตําแหน่งหรือปฏิบัติกิจการของ อบต. เป็นการชั่วคราวได้โดยไม่ขาด จากต้นสังกัดเดิม (มาตรา 72)  

9. อาจทํากิจการนอกเขต อบต. หรือร่วมกับสภาตําบล อบต. อบจ. หรือหน่วยการบริหารราชการส่วน ท้องถิ่นอื่น เพื่อกระทํากิจการร่วมกันได้ (มาตรา 73)

อํานาจหน้าที่ ตามพระราชบัญญัติกําหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอํานาจให้แก่องค์กรปกครองส่วน ท้องถิ่น พ.ศ. 2542  

1. มีอํานาจและหน้าที่ในการจัดระบบการบริการสาธารณะเพื่อประโยชน์ของประชาชนในท้องถิ่นของตนเอง ดังนี้ (มาตรา 16)          

  (1) การจัดทําแผนพัฒนาท้องถิ่นของตนเอง          

  (2) การจัดให้มีและบํารุงรักษาทางบก ทางน้ํา และทางระบายน้ํา          

  (3) การจัดให้มีและควบคุมตลาด ท่าเทียบเรือ ท่าข้าม และที่จอดรถ          

  (4) การสาธารณูปโภคและการก่อสร้างอื่น ๆ          

  (5) การสาธารณูปการ          

  (6) การส่งเสริม การฝึก และประกอบอาชีพ          

  (7) การพาณิชย์ และการส่งเสริมการลงทุน          

  (8) การส่งเสริมการท่องเที่ยว           (9) การจัดการศึกษา          

  (10) การสังคมสงเคราะห์ และการพัฒนาคุณภาพชีวิตเด็ก สตรี คนชรา และผู้ด้อยโอกาส           

  (11) การบํารุงรักษาศิลปะ จารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น และวัฒนธรรมอันดีของท้องถิ่น          

  (12) การปรับปรุงแหล่งชุมชนแออัดและการจัดการเกี่ยวกับที่อยู่อาศัย          

  (13) การจัดให้มีและบํารุงรักษาสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ          

  (14) การส่งเสริมกีฬา          

  (15) การส่งเสริมประชาธิปไตย ความเสมอภาค และสิทธิเสรีภาพของประชาชน          

  (16) ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของราษฎรในการพัฒนาท้องถิ่น          

  (17) การรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง          

  (18) การกําจัดมูลฝอย สิ่งปฏิกูล และน้ําเสีย          

  (19) การสาธารณสุข การอนามัยครอบครัว และการรักษาพยาบาล          

  (20) การจัดให้มีและควบคุมสุสานและฌาปนสถาน          

  (21) การควบคุมการเลี้ยงสัตว์
  (22) การจัดให้มีและควบคุมการฆ่าสัตว์          

  (23) การรักษาความปลอดภัย ความเป็นระเบียบเรียบร้อย และการอนามัย โรงมหรสพ และ สาธารณสถานอื่น ๆ          

  (24) การจัดการ การบํารุงรักษา และการใช้ประโยชน์จากป่าไม้ ที่ดินทรัพยากรธรรมชาติ และ สิ่งแวดล้อม          

  (25) การผังเมือง          

  (26) การขนส่งและการวิศวกรรมจราจร          

  (27) การดูแลรักษาที่สาธารณะ          

  (28) การควบคุมอาคาร          

  (29) การป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย          

  (30) การรักษาความสงบเรียบร้อย การส่งเสริมและสนับสนุนการป้องกันและรักษาความปลอดภัย ใน ชีวิตและทรัพย์สิน          

  (31) กิจการอื่นใดที่เป็นผลประโยชน์ของประชาชนในท้องที่ตามที่คณะกรรมการประกาศกําหนด  

2. อํานาจหน้าที่ของ อบต. ตามข้อ 1 ต้องดําเนินการตาม “แผนปฏิบัติการกําหนดขั้นตอนและการกระจาย อํานาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ”